วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

อุกกาบาต (Meteor) ผวารอบใหม่รับปีใหม่ ดาวเคราะห์น้อย อะโพฟิส ชนโลก


อุกกาบาต คือ วัตถุขนาดเล็กในอวกาศที่ผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลก ขณะอยู่ในอวกาศเรียกว่า "สะเก็ดดาว" ขณะเข้าสู่บรรยากาศเรียกว่า "ดาวตก". เราสามารถพบอุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร อุกกาบาตประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน ปะปนอยู่ในอุกกาบาตบางชนิดเท่านั้น ซึ่งจะเป็นชนิดเหล็กและนิกเกิล


การศึกษาอุกกาบาตช่วยให้มนุษย์ได้สืบค้นถึงประวัติความเป็นมาของโลกดาวเคราะห์ดวงพิเศษสุดที่เราถือกำเนิดและอาศัยกันอยู่ทุกวันนี้ได้ดีขึ้นในบางคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส เราอาจเห็นแสงวูบวาบตกลงมาจากฟากฟ้าเรียกกันว่าดาวตกหรือผีพุ่งไต้แต่ความจริงดาวตกเป็นวัตถุแข็งจำพวกหินหรือเหล็กตกเข้าสู่เขตบรรยากาศโลกด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงแรงเสียดสีกับบรรยากาศทำให้ร้อนจัดหลอมตัวเป็นลูกไฟสว่างมีควันเป็นทางยาว หากวัตถุชิ้นเล็กจะลุกไหม้สว่างกลายเป็นไอสลายไป หมด แต่บางก้อนที่มีขนาดใหญ่จะมีเสียงดังคล้ายเสียงยิงปืนหรือเสียงฟ้าผ่าเมื่อวิ่งผ่านอากาศตกลงมา และหากสลายตัวไม่หมด มักเหลือซากตกลงถึงพื้นโลก เรียกว่า ลูกอุกกาบาต มีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน ตั้งแต่น้ำหนักเพียงไม่กี่กรัมจนถึงก้อนหนึ่งหนักหลาย ๆ ตัน อุกกาบาตแบ่งตามลักษณะเนื้อในเป็น 3 แบบ คือ อุกกาบาต ชนิด หิน เหล็ก และ เหล็กปนหิน ส่วนใหญ่ ที่พบเป็นอุกกาบาต ชนิดหิน ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก ชื่อ จีหลิง (Jiling) ตกที่อำเภอจีหลิง ประเทศจีน เมื่อ 8 มีนาคม 2519 หนักเกือบ 2,000 กิโลกรัม ส่วนอุกกาบาตชนิดเหล็ก ก้อนใหญ่สุดที่ค้นพบคือ โฮบา เวสท์ (Hoba West) ปริมาตรราว 9 ลูกบาศก์เมตร หนักประมาณ 66 ตันตกกลางป่า ในอัฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ อุกกาบาตชนิดหินส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนหินบนโลก และมักสลายตัวเพราะลมฟ้าอากาศ ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าเป็นลูกอุกกาบาต การวิเคราะห์ทำได้โดยตัดผิวอุกกาบาตให้เรียบ ขัดมันแล้วใช้กรดอย่างอ่อนกัด พบโครงสร้างรูปผลึกปรากฏเห็นชัดบนผิวเรียบนั้น ซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะตัวของอุกกาบาต


อุกกาบาตขนาดใหญ่ที่พุ่งชนโลกอย่างแรง ทำให้เกิดหลุมลึกบนพื้นโลกเรียกว่า เครเตอร์ หลุมอุกกาบาตใหญ่ที่สุดบนโลก คือ หลุมแบริงเยอร์ ในรัฐอะริโซนา สหรัฐอเมริกา คาดว่า เกิดจากอุกกาบาตชนิดเหล็กหนักถึง 1 ล้านตัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เมตร ตกกระแทก พื้นโลกเป็นหลุมมหึมา ปากหลุมกว้าง 1,200 เมตร ลึก 170 เมตร ความลึกเท่ากับตึกสูง 40 ชั้นทีเดียว หลุมแบริงเยอร์อายุประมาณ 22,000 ปีอุกกาบาตตกในประเทศไทย- ลูกอุกกาบาตนครปฐม ตกที่ตำบลดอนยายหอม เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2466 แตกเป็น 2ก้อนใหญ่ น้ำหนักรวม 32 กิโลกรัม เป็นอุกกาบาตชนิดเนื้อหิน ตั้งแสดงอยู่ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ - ลูกอุกกาบาตเชียงคาน ตกที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2524 เป็นอุกกาบาตชนิดเนื้อหิน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัตถุจากกระแสธารอุกกาบาต ที่เป็นซากเหลือจาก ดาวหางเทมเพล (Tempel ) ที่โลกโคจรตัดผ่านธารอุกกาบาตในช่วงนั้น เป็นประจำทุกปี จึงทำให้เกิดเป็น ฝนดาวตก หรือ ฝนอุกกาบาต ให้เห็นในระยะนั้น มีสมมุติฐานอธิบายกำเนิดของอุกกาบาต ว่าน่าจะมาจากแถบของดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่าง วงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี หรืออาจ มาจากดาวหางที่โคจรอยู่ในระบบสุริยะ นอกจากนั้นยังพบอุกกาบาตบางก้อนมีองค์ประกอบ เช่นเดียวกับหินจากดวงจันทร์และหินจาก ดาวอังคารด้วย อุกกาบาตเป็นวัตถุฟากฟ้าที่สำคัญยิ่งในทางดาราศาสตร์ เพราะนอกจากโลกของเราแล้ว อุกกาบาตเป็นสมาชิกในระบบ สุริยะที่ตกผ่านเข้ามาบนโลกให้มนุษย์ได้มีโอกาสจับต้อง และศึกษาค้นคว้าได้โดยตรง การตรวจสอบพบว่าลูกอุกกาบาตส่วนใหญ่ประกอบด้วยเหล็ก นิเกิล และแร่ธาตุที่ตรวจพบได้บนโลก จึงสรุปได้ว่าสมาชิก ของระบบสุริยะทั้งปวงประกอบขึ้นจากวัตถุชนิดเดียวกันและเมื่อสืบค้นถึงอายุของลูกอุกกาบาต โดยการตรวจสารกัมมันตรังสี พบว่าลูกอุกกาบาต มีอายุเก่าแก่พอ ๆ กับอายุของโลก
การศึกษาลูกอุกกาบาตจึงจะช่วยให้มนุษย์ได้สืบค้นถึงประวัติความเป็นมาของโลก ดาวเคราะห์ ดวงพิเศษสุดที่เราถือกำเนิดและอาศัยกันอยู่ทุกวันนี้ได้ดีขึ้น
ผวารอบใหม่รับปีใหม่ ดาวเคราะห์น้อย อะโพฟิส ชนโลก?? (เดลินิวส์) เข้าสู่ปีใหม่ 2553 นอกจากคำทำนายทายทักดวงดาวในทางโหราศาสตร์ที่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะดีแล้ว กับเรื่องดวงดาวในทางดาราศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ก็มีรายงานในทางไม่ดีอีกครั้งเช่นกัน โดยเป็นเรื่องของ "ดาวเคราะห์น้อย" ที่ชื่อว่า "อะโพฟิส (99942 Apophis)" เกี่ยวกับการจะ "เฉี่ยวโลก-ชนโลก ??" เดิมมีรายงานว่าอะโพฟิสจะแค่เฉี่ยวใกล้โลกมาก แต่ล่าสุดมีรายงานชิ้นใหม่ว่ามีโอกาสชนโลก ??? ทั้งนี้เรื่องของดาวเคราะห์น้อยหรือแอสเตอรอยด์ที่ชื่อ "อะโพฟิส" นั้นมิใช่เรื่องใหม่ มีรายงานข่าวเกี่ยวกับการที่มันอาจคุกคามโลกมานานแล้ว และย้อนไปเมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้ว "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" ก็เคยนำเสนอเกี่ยวกับมัน โดยข้อมูลจาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย ในบทความของ วรเชษฐ์ บุญปลอด ระบุว่าอะโพฟิสถูกพบครั้งแรกเมื่อเดือน มิ.ย. ปี พ.ศ. 2547 ซึ่งขณะนั้นถูกเรียกว่า 2004 เอ็มเอ็น 4 (2004 MN4) และก็มีการคำนวณเรื่อยมา ประเด็นโดยสรุปที่เคยมีรายงานข่าวจากต่างประเทศโดยผู้เชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวข้อง ก็เช่น... มีการคำนวณเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ว่าในวันที่ 13 เม.ย. ปี พ.ศ. 2572 หรือ ค.ศ. 2029 ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะโคจรผ่านเฉียดใกล้โลกด้วยระยะห่างประมาณ 64,400 กิโลเมตร แต่ต่อมามีการสรุปใหม่ว่าอะโพฟิสจะเฉียดโลกด้วยระยะห่าง เพียง 36,350 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 5.7 เท่าของรัศมีโลก ใกล้กว่าดวงจันทร์เกือบ 11 เท่า ใกล้กว่าดาวเทียมค้างฟ้า และก็มีการพูดถึงประเด็น "อะโพฟิสอาจชนโลก ??" นอกจากนี้ ยังมีการระบุอีกว่า...แม้อะโพฟิสจะไม่ชนโลกในปี พ.ศ. 2572 แต่เมื่อมันเข้าใกล้โลกมาก ๆ แล้ว แรงโน้มถ่วงของโลกจะเบนวงโคจร ซึ่งจะส่งผลให้การคาดหมายวงโคจรในอนาคตแม่นยำน้อยลง จากนั้นก็มีผลการคำนวณออกมาอีกว่า... วันที่ 13 เม.ย. ปี พ.ศ. 2579 ซึ่งก็ตรงกับวันสงกรานต์ของไทยเช่นเดียวกับครั้งแรก อะโพฟิสที่หากไม่ชนโลกในปี พ.ศ. 2572 จะโคจรย้อนมาทางโลกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2579 นี้ และ "อะโพฟิสมีโอกาสชนโลก ??" ในรอบนี้ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดต้นปีนี้มีรายงานที่ไม่มีการยืนยัน ว่าถ้าไม่ชนโลกในปี พ.ศ. 2572 ก็อาจชนในปี พ.ศ. 2575 ไม่ถึงปี พ.ศ. 2579 แม้เรื่องการชนโลกของดาวเคราะห์น้อย "อะโพฟิส" จะยังไม่เคยมีการยืนยันชัดเจน 100% จากนักดาราศาสตร์-นักวิทยาศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องมาก่อน เช่นเดียวกับกรณีจะโคจรวนกลับมาชนในปี พ.ศ. 2575 อย่างไรก็ตามพลันที่ทางรัสเซียมีการเคลื่อนไหวดำเนินการเกี่ยวกับอะโพฟิส ก็ทำให้อะโพฟิสเป็นข่าวฮือฮาอีกครั้ง "อะโพฟิสอาจชนโลก ??" เขย่าขวัญชาวโลกอีกครั้ง ช่วงส่งท้ายสิ้นปี พ.ศ. 2552 ต่อเนื่องถึงต้นปี พ.ศ. 2553 มีรายงานข่าวว่า ในขณะที่ทาง องค์กรการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือนาซา ยังแค่เฝ้าติดตามจับตาอะโพฟิส ทาง สำนักงานอวกาศรัสเซีย ได้ตัดสินใจจะพิจารณา "ส่งยานอวกาศไปยังดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส" ซึ่งอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 350 เมตร (ข้อมูลบางแหล่งก็ว่า 250-270 เมตร บางแหล่งก็ว่า 300 เมตร) ซึ่งคาดว่าจะโคจรผ่านใกล้โลก หรืออาจชนปะทะทำความเสียหายร้ายแรงให้โลก โดยการจะส่งยานอวกาศของรัสเซียครั้งนี้ภารกิจคือ "ชนปะทะให้อะโพฟิสหลุดจากเส้นทางโคจร ป้องกันความเป็นไปได้ที่อาจพุ่งชนโลก !!" ฟังดูเหมือนหนังอวกาศ...แต่อะโพฟิสมันมีอยู่จริง !!! ทั้งนี้แม้จะมีรายงานข่าวว่าทางองค์การนาซาระบุว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่อะโพฟิสจะชนโลกในปี พ.ศ. 2572 และการโคจรกลับมาในรอบต่อ ๆ ไป ทั้งในปี พ.ศ. 2579 และรวมถึงปี พ.ศ. 2611 ทางนาซาก็แสดงท่าทีปฏิเสธที่จะระบุเรื่องโอกาสชนโลกอีก แต่กระนั้นเรื่องการชนโลกของอะโพฟิสก็ยังอยู่ในความสนใจอย่างหวาด ๆ ในทุกมุมโลก เพราะขนาดของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ ไม่ว่าจะเส้นผ่าศูนย์กลาง 270 จะ 300 หรือ 350 เมตร ยังไงก็ถือว่าไม่ใช่เล็ก ๆ "ไม่ใช่อุกกาบาตจิ๊บจ๊อย" ซึ่งหากจะว่ากันที่ตัวเลขกลาง ๆ คือเส้นผ่าศูนย์กลางราว 300 เมตร ถ้าเป็นตัวเลขนี้ทาง สมาคมดาราศาสตร์อังกฤษ เคยคำนวณน้ำหนักของอะโพฟิสไว้ว่า...อยู่ที่ประมาณ 45 ล้านตัน !! "จะสร้างหายนะกับโลกขนาดไหนขึ้นอยู่กับบริเวณที่พุ่งชน ถ้าชนพื้นโลกจะเกิดแอ่งกว้างราว 6 กิโลเมตร ถ้าชนในทะเลก็อาจทำให้เกิดคลื่นยักษ์สูง 3-22 เมตร และจะทำลายชายฝั่งที่อยู่ใกล้เคียงทั้งหมด" ...เป็นการระบุของนักวิทยาศาสตร์ในการประชุมขององค์การนาซาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก่อนหน้านี้ เป็นการระบุถึง "อะโพฟิส" ที่นักวิทยาศาสตร์บางคนก็บอกว่า...ถ้าคิดจะใช้ "ระเบิดนิวเคลียร์" ผลักให้มันหลุดออกจากวงโคจรเหมือนในหนังเรื่อง "อาร์มาเก็ดดอน" ถึงเอานิวเคลียร์ไประเบิดได้ก็ใช่ว่าจะปลอดภัยต่อโลก เพราะจะทำให้อะโพฟิสแตกเป็นเสี่ยง ๆ กลายเป็นสะเก็ดดาวใหญ่ที่อาจมีถึง 5 สะเก็ด และมีโอกาสพุ่งสู่โลก และถ้าใครไม่อยากเชื่อฝรั่ง อยากฟังนักวิทยาศาสตร์ไทย อยากถามว่า "ทำไมต้องกลัวดาวเคราะห์น้อยชนโลก ??" ทาง รศ.ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล ก็เคยบอกผ่าน "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์" เอา ไว้ว่า... "ถ้าพุ่งชนโลก ความรุนแรงก็จะไม่ต่างกับระเบิดนิวเคลียร์ที่มีแรงทำลายล้างมหาศาล ยิ่งถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 กิโล เมตรขึ้นไป จะถึงกับล้างเผ่าพันธุ์มนุษยชาติได้ !!!"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น